พิธีสมโภชพระไตรปิฎก

พิธีสมโภชพระไตรปิฎก คือ การประกาศความสำคัญของคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นคลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติ การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากลสำเร็จในประเทศไทยจึงเป็นเหตุการณ์สำคัญระดับชาติและสถาบัน ที่จะต้องเฉลิมฉลองด้วยการเวียนเทียนสมโภชตามประประเพณีในราชสำนัก ในโอกาสนี้พระไตรปิฎกธร หรือ พระสงฆ์ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกได้ทั้ง 84,000 พระธัมม์ขันธ์ ที่ได้รับยกย่องสูงสุดจากประเทศเมียนมาร์ 2 รูป ได้เดินทางมาร่วมสมโภชพระไตรปิฎกด้วย ซึ่งเป็นการเข้าร่วมของพระไตรปิฎกธรในงานพระไตรปิฎกสากลของชาติไทยเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีผู้แทนสงฆ์เถรวาทจากประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เดินทางมาเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชด้วย

009

630

ก่อนพิธีสมโภช นักเรียนเตรียมทหาร นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ และนักเรียนนายเรืออากาศ จะเป็นผู้อัญเชิญพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม และพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน รวม80 เล่ม โดยกางกั้นด้วยสัปทนสีขาว ออกจากศาลาว่าการกลาโหมผ่านประตูสวัสดิโสภาเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง นักเรียนนายร้อยจากเหล่าต่างๆ เป็นผู้แทนของสถาบันทหารของชาติ ในอนาคตเป็นผู้ที่จะพิทักษ์คลังอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติในพระไตรปิฎกให้สถิตสถาพรอยู่ในแผ่นดินไทยสืบต่อไป

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีสมโภชและถวายพระไตรปิฎกแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี จัดโดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ด้วยความสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหม

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานในพิธีสมโภชและถวายพระไตรปิฎกแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี จัดโดยมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ด้วยความสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหม

keikxzv72oa

ที่มา : http://portal.in.th/tipitaka/news/842/

ภาษาคัมภีร์

3610;3634;3621;3637

คำว่า “สรวาสติวาท” แปลว่า นิกาย (=วาท) ที่เชื่อว่าทุกสิ่ง (สฺรว) มีอยู่ (อสฺติ) จริง ตรงกับคำว่า “สพฺพตฺถีกวาท” ในคัมภีร์ กถาวตฺถุ พระอภิธัมมปิฎก ฝ่ายบาลี นิกายนี้มีทัศนะว่า “ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ มีอยู่จริงทั้งในอดีต อนาคตและปัจจุบัน เพราะอำนาจแห่งสันตติ คือ การสืบต่อกัน” แต่เถรวาทปฏิเสธทัศนะนี้

คัมภีร์ทีปวังสะ ว่าสัพพัตถีกวาท (หรือสรวาสติวาท) แตกย่อยมาจากมหิสสาสกะ และมหิสสาเสกะ ก็สืบมาจากเถรวาท ซึ่งนับเป็นนิกายดั้งเดิมอีกทอดหนึ่ง

ส่วนปกรณ์สันสกฤต (คือเภทธรรมมติจักรศาสตร์) ของท่านอาจารย์วสุมิตร ให้ความสำคัญสรวาสติวาท เท่ากับเถรวาท ถือว่าเป็นนิกายเก่าแก่ ซึ่งถือกำเนิดในพุทธศตวรรษที่ 3

สรวาสติวาทนี้ เดิมทีน่าจะเจริญคู่เคียงกับเถรวาทในแคว้นมคธนั่นเอง เพราะได้อ้างพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นโยมอุปัฏฐากของตนด้วย แต่ต่อมาอาจจะเพลี่ยงพล้ำแก่เถรวาทจึงได้ไปยึดอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ คือ คันธาระ และมถุราเป็นศูนย์กลาง โดยท่านมัธยานติกเถร ศิษย์ของพระอานนทเถร เป็นสังฆปาโมกษ์อยู่มถุรา ท่านอุปคุปตเถรองคืที่ถวายวิสัชชนาปัญหาใจให้พระเจ้าอโศกจนหันมาสมาทานพระพุทธศาสนา ศิษย์ของท่านศาณวาสิกะ เป็นประมุขอยุ่ในเขตคันธาระ
ท่านมัธยานติกะ และท่านอุปคุปตะ ถูกอ้างว่าเป็นผู้ก่อตั้งนิกายนี้ หรือเป็นประมุขสงฆ์นิกายนี้
แต่ท่านบูสตัน (Bu’ston)ผู้รจนาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดียและทิเบตว่าผู้ก่อตั้งนิกายนี้คือ พระราหุลภัทร ผู้ออกผนวชจากขัตติยตระกูล

keikxzv72oa

 

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=16&chap=2&page=t16-2-infodetail04.html

ปัญหาว่าภาษาบาลี คือภาษาอะไร

s16-39

         เป็นภาษาของคนพื้นเมืองในแคว้นใดแน่ ก็ยังไม่มีคำตอบที่พอใจของทุกคนได้ เช่นบางท่านบอกว่า บาลีก็คือภาษาปรากฤต ชื่อไปศาจี ซึ่งผู้คนแถบเทือกเขาวินธัย พูดกัน บางท่านว่าคงพัฒนามาจากภาษาของชาวบ้านแคว้นอุชเชนี (หรือ อุชเชน) ในรัฐมัธยมประเท

บางท่านว่า ภาษาบาลีคือภาษาของชาวบ้านแคว้นกาลิงคะ (แคว้นโอริสสาและอานธระปัจจุบัน) เป็นสถานที่ ๆ คณะพระมหินทเถระ เมื่อจะเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในศรีลังกา หลังสังคายนาครั้งที่ 3 นั้น หรือคณะชาวพุทธอื่น ๆ ได้พากันมาลงเรือกันที่นั่น แต่มีอีกมติหนึ่งแย้งว่า ภาษาบาลีคือ ภาษาเศารเสนี ตระกูลหนึ่งของภาษาปรากฤตเพราะมีเกณฑ์การออกเสียงและสกดคำเหมือนกัน เป็นต้น
ถ้าสรุปแบบกำปั้นทุบดิน ภาษาบาลีก็คือภาษาบาลีหรือภาษามคธ แต่รูปแบบปัจจุบันกับภาษาดั้งเดิมน่าจะไม่เหมือนกันทั้งหมด คงต้องมีการพัฒนากันอยู่บ้างเมื่อนำมาบันทึกคำสอน หรือมาใช้เป็นภาษาคัมภีร์
มีหลักฐานยืนยันว่า นอกจากภาษาบาลีที่นิกายเถรวาทใช้เป็นเป็นภาษาคัมภีร์บันทึกการสอนแล้วนิกายสรวาสติวาท ซึ่งมีความความเก่าแก่ไล่เลี่ยกับเถรวาท ได้บันทึกคำสอนไว้ด้วยภาษาสันสกฤต นิกายสัมมีติยะ ใช้ภาษา อปพรหมศา ขณะที่นิกายมหาสังฆิกะใช้ภาษาปรากฤต
เมื่อพูดถึงภาษาสันสกฤต มีปัญหาอีกเหมือนกัน เช่น ทำไมพระพุทธศาสนานิกายนี้จึงใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกคำสอน ในเมื่อพระพุทธเจ้าก็ทรงให้พระสงฆ์เรียนภาษาพระพุทธพจน์ด้วยภาษของตนไม่ยกกล่าวโดยฉันท์ ดูเหมือนพระพุทธเจ้าต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งประชาชนทุกชั้นวรรณะมีสิทธิเท่าเทียมกันให้การแสวงหาความรู้ ไม่เหมือนกับศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดู ซึ่งใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาคัมภีร์ ศึกษากันอยู่เฉพาะชั้นสูง ปิดกั้นมิให้คนในวรรณะต่ำ เช่น ศูทรและจัณฑาลได้ศึกษาเล่าเรียน
ข้อนี้อาจเนื่องด้วยความจำเป็นในการปรับตัวของพระพุทธศาสนา ให้โดดเด่นจนสามารถครองใจคนชั้นสูงของสังคมได้
ภาษาสันสกฤตที่พระพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทใช้นี้ ก็เป็นภาษาสันสกฤตแบบพุทธ คือ สันสกฤตพันทาง (Hybrid Sanskrit) หรือสันสกฤตผสมกับภาษาบาลี (Mixed Sanskrit) มิใช่สันสกฤตมาตรฐาน (Classical Sanskrist) ถ้าเราศึกษาเปรียบเทียบดุดี ๆ กับภาษาบาลีก็คงพอจะเข้าใจได้

keikxzv72oa

การสังคายนาในพม่า

Crafts for sale in Ban Xang Hai village. Laos

ได้กล่าวแล้วว่า พม่าไม่รับรองสังคายนาครั้งแรกในลังกา คงรับรองเฉพาะสังคายนาครั้งที่ 2 ของลังกา ว่าเป็นครั้งที่ 4 ต่อจากนั้นก็นับสังคายนาครั้งที่ 5 และที่ 6 ซึ่งกระทำในประเทศพม่า

สังคายนาครั้งแรกในพม่า หรือที่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ 5 ต่อจากครั้งจารึกลงในใบลานของลังกา สังคายนาครั้งนี้ มีการจารึกพระไตรปิฎกลงในแผ่นหินอ่อน 729 แผ่น ณ เมืองมันดเล ด้วยการอุปถัมภ์ของพระเจ้ามินดง ใน พ.ศ.2414 (ค.ศ.1871) พระมหาเถระ 3 รูป คือ พระชาคราภิวังสะ พระนรินทาภิธชะ และพระสุมังคลสามี ได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานโดยลำดับ มีพระสงฆ์และพระอาจารย์ผู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมร่วมประชุม 2,400 ท่าน กระทำอยู่ 5 เดือนจึงสำเร็จ

สังคายนาครั้งที่ 2 ในพม่า หรือที่พม่านับว่าเป็นครั้งที่ 6 ที่เรียกว่าฉัฏฐสังคายนา เริ่มกระทำเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2499 เป็นอันปิดงาน ในการปิดงาน ได้กระทำร่วมกับการฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (การนับปีของพม่าเร็วกว่าไทย 1 ปี จึงเท่ากับเริ่ม พ.ศ.2498 ปิด พ.ศ. 2500 ตามที่พม่านับ) พม่าทำสังคายนาครั้งนี้ มุ่งพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นข้อแรก แล้วจะจัดพิมพ์อรรถกถา (คำอธิบายพระไตรปิฎก) และคำแปลเป็นภาษาพม่าโดยลำดับ มีการโฆษณาและเชิญชวนพุทธศาสนิกชนหลายประเทศไปร่วมพิธีด้วย โดยเฉพาะประเทศเถรวาท คือ พม่า ลังกา ไทย ลาว เขมร ทั้งห้าประเทศนี้ ถือว่าสำคัญสำหรับการสังคายนาครั้งนี้มาก เพราะใช้พระไตรปิฎกภาษาบาลีอย่างเดียวกัน จึงได้มีสมัยประชุม ซึ่งประมุขหรือผู้แทนประมุขของทั้งห้าประเทศนี้เป็นหัวหน้า เป็นสมัยของไทยสมัยของลังกาเป็นต้น ได้มีการก่อสร้างคูหาจำลองทำด้วยคอนกรีต จุคนได้หลายพันคน มีที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ไม่น้อยกว่า 2,500 ที่ บริเวณที่ก่อสร้างประมาณ 200 ไร่เศษ เมื่อเสร็จแล้วได้แจกจ่ายพระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าในประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยด้วย

keikxzv72oa

 

ที่มา : http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_23.htm

การนับสังคายนาในลังกา

221717806067318

ลังกาซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเช่นเดียวกับไทย คงรับรองการสังคายนาทั้งสามครั้งแรกในอินเดีย แต่ไม่รับรองสังคายนาครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นของนิกายสัพพัตถิกวาทผสมกับฝ่ายมหายาน

หนังสือสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งแต่อธิบายวินัยปิฎกกล่าวว่า เมื่อทำสังคายนาครั้งที่ 3 เสร็จแล้ว พระมหินทเถระผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศก พร้อมด้วยพระเถระอื่นๆ รวมกันครบ 5 รูป ได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในลังกา ได้พบพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ แสดงธรรมให้พระราชาเลื่อมใสและประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้แล้ว ก็มีการประชุมสงฆ์ให้พระอริฏฐะผู้เป็นศิษย์ของพระมหินทเถระ สวดพระวินัยเป็นการสังคายนาวินัยปิฎก ส่วนหนังสืออื่นๆ เช่นสังคีติวงศ์กล่าวว่ามีการสังคายนาทั้งสามปิฎก สังคายนาครั้งนี้กระทำที่ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ มีพระมหินทเถระเป็นประธาน

การสังคายนาครั้งนี้ ต่อจากสังคายนาครั้งที่ 3 ในอินเดียไม่กี่ปี คือการทำสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำใน พ.ศ.235 พอทำสังคายนาเสร็จแล้วไม่นาน (พ.ศ.236) พระมหินทเถระก็เดินทางไปเผย แผ่พระพุทธศาสนาในลังกา และในปี พ.ศ. 238 ก็ได้ทำสังคายนาในลังกา เหตุผลที่อ้างในการทำสังคายนาครั้งนี้ก็คือ เพื่อให้พระศาสนาตั้งมั่น เพราะเหตุที่สังคายนาครั้งนี้ห่างจากครั้งแรกประมาณ 3-4 ปี บางมติจึงไม่ยอมรับเป็นสังคายนา เช่นมติของฝ่ายพม่าดังจะกล่าวข้างหน้า ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สังคายนาครั้งนี้ อาจเป็นการวางรากฐานให้ชาวลังกาท่องจำพระพุทธพจนะ จึงต้องประชุมชี้แจงหรือแสดงรูปแห่งพุทธวจนะตามแนวที่ได้จัดระเบียบไว้ในการสังคายนาครั้งที่ 3 ในอินเดีย ฉะนั้นจึงนับว่าเป็นสังคายนาครั้งแรกในลังกา

สังคายนาครั้งที่ 2 ในลังกา กระทำเมื่อประมาณ พ.ศ.433 ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เรื่องที่ปรากฏเป็นเหตุทำสังคายนาครั้งนี้ คือเห็นกันว่า ถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง จึงตกลงจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน มีคำกล่าวว่า ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย สังคายนาครั้งนี้การะทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเลชนบท ซึ่งไทยเราเรียกว่ามลัยชนบท ประเทศลังกา มีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ได้กล่าวแล้วว่า บางมติไม่รับรองการสังคายนาของพระมหินท์ ว่าเป็นครั้งที่ 4 ต่อจากอินเดีย แต่สังคายนาครั้งที่ 2 ในลังกานี้ ได้รับการรับรองเข้าลำดับโดยทั่วไป บางมติก็จัดเข้าเป็นลำดับที่ 5 บางมติที่มารับรองสังคายนาของพระมหินท์ (ครั้งแรกในลังกา) ก็จัดสังคายนาครั้งที่ 2 ในลังกานี้ว่า เป็นครั้งที่ 4 ต่อจากอินเดีย

สังคายนาครั้งที่ 3 ในลังกากระทำเมื่อไม่ถึงร้อยปีมานี้นี่เอง คือใน พ.ศ.2408 (ค.ศ.1865) ที่รัตนปุระในลังกา พระเถระชื่อหิกขทุเว สิริสุมังคละ เป็นหัวหน้า กระทำอยู่ 5 เดือน การสังคายนาครั้งนี้ น่าจะไม่มีใครรู้กันมากนัก นอกจากเป็นบันทึกของชาวลังกาเอง การโฆษณาก็คงไม่มากมายเหมือนสังคายนาครั้งที่ 6 ของพม่า

keikxzv72oa

การนับสังคายนาของไทย

134

ตามหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมของไทยเรายอมรับรองสังคายนาครั้งที่ 1-2-3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1-2 ในลังกา รวมเป็น 5 ครั้ง ถือว่าเป็นประวัติที่ควรรู้เกี่ยวกับความเป็ฯมาแห่งพระธรรมวินัยแต่สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาวชิญาณวโรรส ทรงถือว่าสังคายนาในลังกาทั้งสองครั้ง เป็นเพียงสังคายนาเฉพาะประเทศ ไม่ควรจัดเป็นสังคายนาทั่วไป จึงทรงบันทึกพระมติไว้ในท้ายหนังสือพุทธประวัติ เล่ม 3

แต่ตามหนังสือสังคีติยวงศ์ หรือประวัติแห่งการสังคายนา ซึ่งสมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพน รจนาเป็นภาษาบาลีในรัชการที่ 1 ตั้งแต่ครั้งเป็นพระพิมลธรรม ได้ลำดับความเป็นมาแห่งสังคายนาไว้ 9 ครั้งดังต่อไปนี้

สังคายนาครั้งที่ 1-2-3 ทำในประเทศอินเดียตรงกับที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น

สังคายนาครั้งที่ 4-5 ทำในลังกา คือครั้งที่ 1 ที่ 2 ที่ทำในลังกาดังได้กล่าวแล้วในประวัติการสังคายนาของลังกา

สังคายนาครั้งที่ 6 ทำในลังกาเมื่อ พ.ศ. 956 พระพุทธโฆสะได้แปลและเรียบเรียงอรรถกถาคือคำอธิบายพระไตรปิฎก จากภาษาลังกาเป็นภาษาบาลี ในรัชสมัยของพระเจ้ามหานาม เนื่องจากการแปลอรรถกถาเป็นภาษาบาลีครั้งนี้ มิใช่การสังคายนาพระไตรปิฎก ทางลังกาเองจึงไม่ถือว่าเป็นการสังคายนาตามแบบแผนที่นิยมกันว่า จะต้องมีการชำระพระไตรปิฎก

สังคายนาครั้งที่ 7 ทำในลังกาเมื่อ พ.ศ.1587 พระกัสสปเถระได้เป็นประธานมีพระเถระร่วมด้วยกว่า 1,000 รูป ได้รจนาคำอธิบายอรรถกถาพระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี กล่าวคือแต่งตำราอธิบายคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งพระพุทธโฆสะได้ทำเป็นภาษาบาลีไว้ในการสังคายนาครั้งที่ 6 คำอธิบายอรรถกถานี้ กล่าวตามสำนวนนักศึกษาก็คือ คัมภีร์ฎีกา ตัวพระไตรปิฎก เรียกว่าบาลี คำอธิบายพระไตรปิฎก เรียกว่าอรรถกถา คำอธิบายอรรถกถา เรียกว่าฎีกา การทำสังคายนาครั้งนี้ เนื่องจากมิใช่สังคายนาพระไตรปิฎกแม้ทางลังกาเองก็ไม่รับรองว่าเป็นสังคายนา

อย่างไรก็ตาม ข้อความที่กล่าวไว้ในหนังสือสังคีติวงศ์ ก็นับว่าได้ประโยชน์ในการรู้ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา อย่างดียิ่ง

สังคายนาครั้งที่ 8 ทำในประเทศไทย ประมาณ พ.ศ.2020 พระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงไตรปิฎกหลายร้อยรูป ให้ช่วยชำระอักษรพระไตรปิฎก ในวัดโพธาราม เป็นเวลา 1 ปี จึงสำเร็จสังคายนา ครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย

การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก ในครั้งนี้มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชปัณฑิตาจารย์ อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจัดให้มีการจารึกลงในใบลาน สังคายนาครั้งนี้สำเร็จภายใน 5 เดือน จัดว่าเป็นสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย

ประวัติการสังคายนา 9 ครั้งตามที่ปรากฏในหนังสือสังคีติยวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระวันรัตรจนาไว้นี้ ภิกษุชินานันทะ ศาสตราจารย์ภาษาบาลี และพุทธศาสตร์แห่งสถาบันภาษาบาลีที่นาลันทาได้นำไปเล่าไว้เป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือ 2500 ปี แห่งพระพุทธศาสนาในอินเดีย ซึ่งพิมพ์ขึ้นในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ในอินเดียด้วย

ความรู้เรื่องการชำระและการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนชาวไทยโดยเฉพาะ ข้าพเจ้าจึงจะกล่าวถึงเรื่องนี้ค่อนข้างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้กล่าวถึงเรื่องอื่นๆ เสร็จแล้ว

keikxzv72oa

การสังคายนาครั้งที่ 1

ครั้งที่ ๑

กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดีย พระมหากัสสปเถระ เป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอุบาลีเป็นผู้ตอบข้อซักถามทางวินัย พระอานนท์ เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางธรรม มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป กระทำอยู่ 7 เดือน จึงสำเร็จ ในการนี้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ สังคายนาครั้งนี้กระทำภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้ว 3 เดือน ข้อปรารภในการสังคายนา คือพระมหากัสสปะปรารภถ้อยคำของภิกษุชื่อสุภัททะ ผู้บวชเมื่อแก่ เมื่อรู้ข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลายร้องไห้เศร้าโศก สุภัททภิกษุก็ห้ามภิกษุเหล่านั้นมิให้เสียใจร้องไห้ เพราะต่อไปนี้จะทำอะไรก็ได้ตามใจแล้ว ไม่ต้องมีใครคอยชี้ว่า นี่ผิด นี่ถูก นี่ควร นี่ไม่ควร อีกต่อไป พระมหากัสสปะสลดใจถ้อยคำของสุภัททภิกษุ จึงนำเรื่องเสนอที่ประชุมสงฆ์ แล้วเสนอชวนให้ทำสังคายนาร้อยกรองจัดระเบียบพระธรรมวินัย ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบ

มีข้อน่าสังเกตว่า ประวัติการทำสังคายนาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 7 จุลลวัคค์ หน้า 279 ถึง 423 อันแสดงว่าประวัติเรื่องนี้คงเพิ่มเข้ามาในวินัยปิฎก ในการทำสังคายนาครั้งที่ 3 นอกจากนั้น ในครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แห่งการทำสังคายนานี้ ไม่มีคำกล่าวถึงปิฎกเลย ใช้คำว่า วินัยวิสัชนา (ตอบเรื่องพระวินัย) และธัมมวิสัชนา (ตอบเรื่องพระธรรม) สำหรับครั้งที่ 1 และใช้คำว่า ทสวัตถุปุจฉาวิสัชนา (ถามตอบเรื่องวัตถุ 10) สำหรับครั้งที่ 2 จึงน่าจะเห็นได้ว่า สังคายนาครั้งแรกและครั้งที่ 2 ยังไม่ได้แยกเป็น 3 ปิฎก แต่เรียกว่าธรรมวินัยรวมๆ ไป โดยรวมสุตตันตปิฎกกับอภิธรรมปิฎกอยู่ในคำว่า “ธรรม”

แต่ในหนังสือชั้นอรรถกถา ซึ่งแต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎก ภายหลังพุทธปรินิพพานเกือบพันปีอธิบายเป็นเชิงว่า สุดแต่จะจัดประเภท จะว่าพุทธวจนะมี 1 ก็ได้ คือมีความหลุดพ้น เป็นรสเหมือนทะเล แม้จะมีน้ำมากก็มีรสเดียวคือรสเค็ม จะว่ามี 2 ก็ได้ คือเป็นพระธรรมกับพระวินัย จะว่าเป็น 3 ก็ได้ คือไตรปิฎก อันแยกออกเป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก จะว่าเป็น 5 ก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 5 นิกาย หรือ 5 หมวด คือ 1.ทีฆนิกาย (หมวดยาว)2.มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง) 3.สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเรื่องเป็นพวกๆ ) 4.อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์ คือจัดข้อธรรมเป็นหมวด 1 หมวด 2 เป็นต้น) 5.ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อยหรือหมวดเบ็ดเตล็ด) การจัดอย่างนี้ จัดตามหลักสุตตันตปิฎก แล้วเอาวินัยปิฎกและอภิธัมมปิฎก มาย่อรวมในขุททกนิกาย คือหมวดเบ็ดเตล็ด นอกนั้นยังอธิบายถึงการแบ่งพระพุทธวจนะเป็น 9 ส่วน เป็น 84,000 ส่วน ซึ่งของดไม่นำมากล่าว

keikxzv72oa

การสังคายนาครั้งที่ 4

gal00644022444a

การสังคายนาครั้งที่นี้ผสมกับฝ่ายมหายาน กระทำกันในอินเดียภาคเหนือ ด้วยความอุปถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะ ได้กล่าวแล้วว่าสังคายนาครั้งนี้ ทางฝ่ายเถรวาท คือฝ่ายที่ถือพระพุทธศาสนาแบบที่ไทย ลาว เขมร พม่า ลังกานับถือ มิได้รับรองเข้าอันดับเป็นครั้งที่ 4 เพราะเป็นการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท ซึ่งแยกออกไปจากเถรวาททำผสมกับฝ่ายมหายาน และเพราะมีสายแห่งการสืบต่อสั่งสอนอบรม ไม่ติดต่อเกี่ยวข้องกัน จึงไม่มีบันทึกหลักฐานเรื่องนี้ทางเถรวาท ทั้งภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกก็ไม่เหมือนกัน คือฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต (บางครั้งก็ปนปรากฤต) ฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี

แม้สังคายนาครั้งที่ 3 ในอินเดียซึ่งกล่าวมาแล้วข้างต้น ทางฝ่ายจีนและธิเบตก็ไม่มีบันทึกรับรองไว้เพราะเป็นคนละสายเช่นเดียวกัน

แต่เนื่องจากการสังคายนาครั้งนี้เป็นที่รู้กันทั่วไปในวงการของผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา จึงนับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย และเมื่อคิดตามลำดับเวลาแล้ว ก็นับเป็นสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ทำในอินเดีย เมื่อประมาณ ค.ศ.100 หรือ พ.ศ.643 เรื่องปีที่ทำสังคายนานี้ หนังสือบางเล่มก็กล่าวต่างออกไป สังคายนาครั้งนี้กระทำ ณ เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็ว่าทำที่กาษมีระ หรือแคชเมียร์ รายละเอียดบางประการ จะได้กล่าวถึงตอนที่ว่าด้วยการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท

มีข้อน่าสังเกต คือหนังสือประวัติศาสตร์ของอินเดียบางเล่มกล่าวว่า ใน ค.ศ.634 (พ.ศ.1177) พระเจ้าศีลาทิตย์ ได้จัดให้มีมหาสังคายนาขึ้นในอินเดียภาคเหนือ มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วมด้วยถึง 21 พระองค์ ในพิธีนี้มีพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียน และพราหมณ์ผู้ทรงความรู้มาประชุมกัน ในวันแรกตั้งพระพุทธรูปบูชาในพิธี ในวันที่ 2 ตั้งรูปสุริยเทพ ในวันที่ 3 ตั้งรูปพระศิวะ การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสม คือทั้งพุทธ ทั้งพราหมณ์ ภิกษุที่เข้าประชุมก็มีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน แต่เมื่อสอบดูหนังสือประวัติของภิกษุเฮี่ยนจัง ซึ่งบันทึกเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ด้วย กลายเป็นการประชุมเพื่อให้มาโต้แย้งกับภิกษุเฮี่ยนจัง ผู้แต่ตำรายกย่องพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานไป หาใช่การสังคายนาอย่างไรไม่ ที่บันทึกไว้ในที่นี้ด้วยก็เพื่อให้หมดปัญหาประวัติการสังคายนาในประเทศอินเดีย

keikxzv72oa

การสังคายนาครั้งที่ 3

ครั้งที่ ๓

ได้กล่าวแล้วว่า เรื่องสังคายนาที่ปรากฏในวินัยปิฎกมีเพียงครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 ส่วนเรื่องการสังคายนาครั้งที่ 3 มีปรากฏในชั้นอรรถกถาอันพอเก็บใจความได้ดังนี้

สังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระเป็นหัวหน้า มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป ทำอยู่ 9 เดือนจึงสำเร็จ สังคายนาครั้งนี้กระทำภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 234 หรือ 235 ปี ข้อปรารภในการทำสังคายนาในครั้งนี้คือ พวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช แล้วแสดงลัทธิศาสนาและความเห็นของตนว่าเป็นพระพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตร ติสสเถระ ได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราช ชำระสอบสวนกำจัดเดียรถีย์เหล่านั้นจากพระธรรมวินัยได้แล้ว จึงสังคายนาพระธรรมวินัย

มีข้อน่าสังเกตว่า ในการทำสังคายนาครั้งนี้พระโมคคัลลีบุตรได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในอภิธัมมปิฎกเพิ่มขึ้นด้วย ตามประวัติว่าบทตั้งมีอยู่เดิมแล้วแต่ได้แต่งขยายให้พิสดารออกไป เรื่องกถาวัตถุ เป็นเรื่องคำถามคำตอบเกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีคำถาม 500 คำตอบ 500 และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็ได้ส่งคณะทูตไปประกาศพระศาสนาในประเทศต่างๆ รวมทั้งพระมหินทเถระ ผู้เป็นโอรสพระเจ้าอโศก ได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกาเป็นครั้งแรก การส่งสมณะทูตไปทิศทางต่างๆ ครั้งนั้นถือหลักว่าให้ไปครบ 5 รูป เพื่อจะได้ให้การอุปสมบทแก่ผู้เลื่อมใสได้ แต่คงไม่ระบุชื่อหมดทั้ง 5 โดยมากออกนามเฉพาะท่านผู้เป็นหัวหน้า

keikxzv72oa

การสังคายนาครั้งที่ 2

ครั้งที่ ๒

กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย พระยสะ กากัณฑบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระที่เป็นผู้ใหญ่ร่วมมือในการนี้ที่ปรากฏชื่อมี 8 รูป คือ 1.พระสัพพกามี 2.พระสาฬหะ 3.พระขุชชโสภิตะ 4.พระวาสภคามิกะ ทั้ง 4 รูปนี้ เป็นชาวปาจีนกะ (มีสำนักอยู่ทางตะวันออก) 5.พระเรวตะ 6.พระสัมภูตะ สาณวาสี 7.พระยสะ กากัณฑกบุตร 8.พระสุมนะ ทั้ง 4 รูปนี้ เป็นชาวเมืองปาฐา ในการนี้พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามี เป็นผู้ตอบปัญหาทางวินัยที่เกิดขึ้น มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป กระทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ สังคายนาครั้งนี้ กระทำภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้คือ พระยสะ กากัณฑกบุตร ปรารภข้อปฏิบัติย่อหย่อน 10 ประการทางพระวินัยของพวกภิกษุวัชชีบุตร เช่น ถือว่าควรเก็บเกลือไว้ในเขนง (เขาสัตว์) เพื่อเอาไว้ฉันได้ ตะวันชายเกินเที่ยงไปแล้ว 2 นิ้ว ควรฉันอาหารได้ ควรรับเงินทองได้เป็นต้น พระยสะ กากัณฑกบุตร จึงชักชวนพระเถระต่างๆ ให้ช่วยกันวินิจฉัย แก้ความถือผิดครั้งนี้

รายละเอียดแห่งการสังคายนาครั้งนี้ ปรากฏในวินัยปิฎกเล่ม 7 หน้า396 เป็นต้นไป แต่ไม่ได้กล่าวถึงการจัดระเบียบพระไตรปิฎก คงกล่าวเฉพาะการชำระข้อถือผิด 10 ประการของภิกษุพวกวัชชีบุตร ทั้งไม่ได้บอกว่าทำสังคายนาอยู่นานเท่าไร ในอรรถกถา กล่าวว่าทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ

ข้าพเจ้าได้กล่าวเป็นข้อสังเกตไว้ท้ายเรื่องสังคายนาครั้งที่ 1 แล้วว่า หลักฐานในวินัยปิฎกที่กล่าวถึงการสังคายนาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ไม่มีกล่าวถึงคำว่า “ไตรปิฎก” เลย แต่ถ้ากล่าวตามหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือสมันตัปปาสาทิกา ซึ่งแต่งขึ้นอธิบายวินัยปิฎกเมื่อพุทธปรินิพพานแล้วเกือบพันปี ท่านได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า การทำสังคายนาจัดประเภทพระพุทธวจนะ เป็นรูปพระไตรปิฎกได้มีมาแล้วตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ 1 แม้ครั้งที่ 2 ก็ทำซ้ำอีก

เพราะฉะนั้น ถ้าถือตามหลักฐานของอรรถกถา การสังคายนาจัดระเบียบเป็นรูปพระไตรปิฎกก็มีมาแล้วตั้งแต่การสังคายนาครั้งที่ 1 เป็นต้นมา

keikxzv72oa